ศัพทานุกรมการวิจัยทางประชากรและสังคม

ช่วยค้นหาศัพท์และนิยามศัพท์วิชาการในสาขาการวิจัยทางสังคมศาสตร์ ประชากรศาสตร์ และสถิติ โดยคณะทำงานนิยามศัพท์ฯ ของสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล

คำนำบันทึกการทําศัพทานุกรมการวิจัยทางประชากรและสังคม ฉบับปี 2558บันทึกการทําศัพทานุกรมการวิจัยทางประชากรและสังคม ฉบับปี 2547

search

a | b | c | d | e | f | g | h | i | j | k | l | m | n | o | p | q | r | s | t | u | v | w | x | y | z |

| | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | |
 

ORCID ID

เลขประจำตัวนักวิจัยออคิด

รหัสที่ใช้เชื่อมโยงข้อมูลตัวตนของนักวิจัยกับงานวิจัยของตนเอง

เลขประจำตัวนักวิจัยออคิด ออกให้โดยออคิด ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ไม่แสวงหาผลกำไร โดยคำว่า ORCID ย่อมาจาก Open Research and Contributor

เลขประจำตัวนักวิจัยออคิด ประกอบด้วยตัวเลขจำนวน 16 หลัก ซึ่งจะช่วยไม่ให้เกิดความสับสน ในกรณีที่นักวิจัยมีชื่อเหมือนหรือคล้ายกัน เนื่องจาก ID ของนักวิจัยแต่ละคนจะได้หมายเลขไม่ซ้ำกัน

ประโยชน์ของเลขประจำตัวนักวิจัยออคิด 

  1. เป็นเลขประจำตัวของนักวิจัย ทำให้สามารถค้นหาข้อมูลการตีพิมพ์ของนักวิจัยได้ครบถ้วน
  2. เป็นบริการฟรีและใช้งานง่าย
  3. ทำให้มีการค้นพบผลงานของนักวิจัยได้ถูกต้อง
  4. หน่วยงานที่รับผลงานจำนวนมากระบุให้นักวิจัยมีเลขประจำตัวนักวิจัยออคิด
  5. สามารถปรับปรุงข้อมูลส่วนตัวของผู้วิจัยได้
  6. เลขประจำตัวนักวิจัยออคิดเข้ากันได้กับระบบมาตรฐานต่าง ๆ
  7. เป็นระบบที่ใช้กันทั่วโลก
  8. สามารถเชื่อมโยงกับระบบระบุตัวบุคคลของฐานข้อมูลออนไลน์ต่างๆ เช่น Scopus และสามารถเชื่อมโยงกับผลงานทุกชิ้นของนักวิจัย

นักวิจัยสามารถลงทะเบียนเพื่อรับ ORCID ได้ที่ https://orcid.org/register

ศัพทานุกรมการวิจัยทางประชากรและสังคม www.popterms.mahidol.ac.th
Copyright © Institute for Population and Social Research, Mahidol University
webmaster : prwww@mahidol.ac.th
Revised: Year 2015